Articles (บทความ)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์กับลิขสิทธิ์

11/Nov/2009

การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท

 

                                โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับความคุ้มครองในฐานะงานวรรณกรรม ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.. 2537 ซึ่งกำหนดให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ในงานลิขสิทธิ์ของตน ในขณะเดียวกันกฎหมายได้กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อต้องการให้สังคมได้ใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ เพื่อมิให้เจ้าของลิขสิทธิ์ผูกขาดงานลิขสิทธิ์ของตน ซึ่งจะเป็นการขัดขวางการพัฒนาการศึกษาและการใช้ประโยชน์โดยสาธารณชนตามสมควรอย่างเป็นธรรม

                                 อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์และข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละรายมักจะกำหนดเงื่อนไขการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ใช้สามารถอ่านดูได้จากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Licensing Agreement) ทั้งนี้ผู้ใช้ควรอ่านสัญญาอนุญาตฯ ให้ละเอียดก่อนนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปใช้หรือกระทำการใดๆ ต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

                                ด้วยเหตุนี้ อนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จึงได้จัดทำคู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท (http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php?option=com_content&task=view&id=673&Itemid=232)   โดยได้อธิบายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำหน่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรี โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด โปรแกรม-คอมพิวเตอร์สาธารณะ โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทรวมถึงสิทธิในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันจะเป็นการลดความเสี่ยงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ 

 


ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

กฎหมายลิขสิทธิ์ ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
    1. งานวรรณกรรม  ( หนังสือ  จุลสาร  สิ่งพิมพ์  คำปราศรัย  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ )
    2. งานนาฎกรรม  ( ท่ารำ  ท่าเต้น ฯลฯ ) 
    3. งานศิลปกรรม  ( จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  ภาพถ่าย  ศิลปประยุกต์ ฯลฯ )
    4. งานดนตรีกรรม ( ทำนอง  ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ )
    5. งานสิ่งบันทึกเสียง ( เทป  ซีดี ) 
    6. งานโสตทัศนวัสดุ  ( วีซีดี  ดีวีดี  ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง )
    7. งานภาพยนตร์ 
    8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ 
    9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

ลิขสิทธิ์คุ้มครองโดยอัติโนมัติ :: ไม่ต้องจดทะเบียน, ไม่ต้องโฆษณาก่อน, ไม่ต้องบันทึกลงสื่อใดๆ
(
แต่การจดย่อมดีกว่า เพื่อ เป็นหลักฐานข้อมูลเบื้องต้น, ดีทางด้านธุรกิจ, เป็นข้อมูลต่อศาล)

อายุการคุ้มครองโปรแกรมคอมพิวเตอร์
-
บุคคลธรรมดา : ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ + 50 ปี
-
นิติบุคคล : 50 ปีหลังจากสร้างสรรค์ หรือ โฆษณางานครั้งแรก

การโฆษณา ไม่ได้หมายถึงการโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์อย่างที่เข้าใจกัน แต่เป็นการทำสำเนาแจกจ่าย หรือให้ปรากฎต่อสาธารชน ในจำนวนที่พอสมควร)

เจ้าของลิขสิทธิ์
-
สร้างสรรค์โดยอิสระ : เจ้าของลิขสิทธิ์ คือ ผู้สร้างสรรค์เอง
-
ในฐานะลูกจ้าง : เจ้าของลิขสิทธิ์ คือลูกจ้าง แต่นายจ้างจะสามารถนำไปผลิตได้
-
ในฐานะผู้ว่าจ้าง : เจ้าของลิขสิทธิ์ คือ ผู้ว่าจ้าง เช่นงาน Freelance มีคนจ้างเราทำงาน ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ว่าจ้าง
-
ภายใต้การจ้าง คำสั่ง หรือควบคุมของหน่วยงานรัฐ : เจ้าของลิขสิทธิ์ คือ รัฐ (แต่ถ้านายไม่ได้สั่ง เราสร้างสรรค์เอง ลิขสิทธิ์ก็จะเป็นของเราเอง)
-
การดัดแปลงผลงานของผู้อื่น : ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ลิขสิทธิ์จะได้เป็นของผู้ที่ดัดแปลง
-
การรับโอนลิขสิทธิ์ : ต้องเขียนเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อ ผู้โอน ผู้รับโอน และกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน
-
การใช้เช่า : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่สามารถให้เช่าได้ อยู่ใน พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๑๕(๓) แต่หนังสือสามารถให้เช่าได้เลย เพราะไม่ได้อยู่ในมาตรา ๑๕(๓)

การละเมิดลิขสิทธิ์และบทลงโทษ
1.
ละเมิดโดยตรง : การกระทำแก่งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ (ทำกับงานจริง)
-
ทำซ้ำ ดัดแปลง
-
เผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น การเปิดเพลงในร้านอาหาร ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ถึงแม้ว่าเราจะเปิดแผ่นที่ซื้อมาของจริง แต่แผ่นที่ซื้อมานั้น เป็นการฟังส่วนตัวเท่านั้น ไม่สามารถนำมาเผยแพร่ได้

บทลงโทษ : ปรับ 20,000 – 200,000 บาท  เพื่อการค้า จำ 6 เดือน – 4 ปี ปรับ 100,000 – 800,00 บาท

2. ละเมิดโดยอ้อม : การกระทำแก่งานเพื่อหากำไร โดยผู้กระทำรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานนั้นเป็นงานละเมิด
-
ขาย ให้เช่า
-
เผยแพร่ต่อสาธารณชน
-
แจกจ่าย ในลักษณะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
-
นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

บทลงโทษ : ปรับ 10,000 – 100,000 บาท  เพื่อการค้า จำ 3 เดือน – 2 ปี ปรับ 50,000 – 400,00 บาท

ข้ออันนิษฐานความรับผิดชอบ
กรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิด ให้ถือว่า กรรมการหรือผู้จัดการทุกคน เป็นผู้ร่วมกระทำความผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนไม่รู้เห็นหรือยินยอมกับการกระทำดังกล่าว

ลักษณะการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พบบ่อย
-
ปลอมแปลง
-
ละเมิดผลิตภัณฑ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งชุด : ละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า
-
ขายผิดช่องทาง : เช่น อนุญาตเพื่อสถาบันการศึกษา แต่นำมาขายให้สถาบันธุรกิจ
-
โหลดลงฮาร์ดดิส : เช่น การติดตั้งโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้ผลิต, ผู้ประกอบการ, ผู้ใช้, ร้านค้า
-
ละเมิดทางอินเตอร์เน็ต : เช่น Download, Upload, P2P

ปัญหาการละเมิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในองค์กร
-
ติดตั้งโปรแกรมมากกว่าจำนวนลิขสิทธิ์ที่มี
-
ได้รับโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์พร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์

 

ที่มา
>> กรมทรัพย์สินทางปัญญา :
>> กรมทรัพย์สินทางปัญญา :

>> http://meawznoy.wordpress.com/2008/10/01/dip-computer/

Back


531132 Visitors531132 Visitors531132 Visitors531132 Visitors531132 Visitors531132 Visitors531132 Visitors